โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
หมายถึง
โรคที่มีอาการไอมีเสมหะเรื้อรัง
เป็นๆหายๆ
อย่างน้อย 3
เดือน
ต่อปีเป็นระยะ
2 ปี
ติดต่อกันโดยไม่มีโรคปอดชนิดอื่นอยู่
โรคถุงลมโป่งพอง
หมายถึง
โรคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่ถุงลมโดยมีการโป่งพองร่วมกับการถูกทำลายของผนังถุงลม
ในปัจจุบันจึงนิยมเรียกเป็นชื่อรวมของโรคทั้งสองนี้ว่าเป็น
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
สถิติของโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
และถุงลมโป่งพอง
ตามสถิติของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปี
2521 โรคปอดที่พบบ่อยที่สุด
คือ
วัณโรคปอด ซึ่งติดอันดับที่
5
ของอัตราการตายด้วยสาเหตุสำคัญ
10 อย่าง
ส่วนโรค
หลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมโป่งพองนั้น
แม้ว่าจะ
ไม่ติด 10 อย่างดังกล่าวเลยแต่แนวโน้มว่า
น่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เป็นจำนวนมาก
ไม่แพ้
วัณโรคปอด
สาเหตุของโรคนี้เชื่อว่าเกิดจากหลายอยากด้วยกัน
ที่สำคัญคือ
1.
การสูบบุหรี่ ในส่วนใหญ่ของผู้ป่วย
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
มีประวัติสูบบุหรี่
อย่างน้อยวันละ
1 ซอง
เป็นเวลา 10-20
ปี
2.
อากาศเป็นพิษ
การสูดหายใจอากาศที่มีควัน
อากาศเสียจากโรงงาน
อุตสากรรมเป็นเวลานานๆอาจทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกับคนที่สูบบุหรี่คนที่อาศัยอยู่ในเมืองเป็นโรคนี้มากกว่า
คนที่อาศัยอยู่ชนบท
3. อายุ
เมื่อมีอายุมากขึ้นก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น
เนื่องจากเนื้อปอดเสื่อมสภาพ
ได้ตามอายุที่สูงเพิ่มขึ้น
พยาธิสภาพและอาการแสดง
เมื่อมนุษย์หายใจเอาพิษจากควันบุหรี่
หรือ
อากาศเป็นพิษเข้าไปในปอดนานเข้าจะทำให้เกิด
การอักเสบของหลอดลมทั้งเล็ก
และใหญ่
อย่างเรื้อรังทำให้ผนังหลอดลมหนาขึ้น
รูของหลอดลมเล็กแคบลง
ต่อมเมือกที่ผนังของหลอดลมจะขับเสมหะเข้ามาในหลอดลมมากขึ้น
ทำให้เกิดการอุดกั้นในหลอดลม
จึงทำให้หายใจไม่สะดวก
เหนื่อยง่าย
และมีเสมหะเรื้อรังเริ่มแรกผู้ป่วยอาจยังไม่มีอาการอะไรเลย
เมื่อเวลาผ่านไปจนพยาธิสภาพของโรคมีมากขึ้พอสมควรแล้วจึงเกิดมีอาการขึ้น
อาการสำคัญที่พบบ่อยเมื่อผู้ป่วยโรคนี้มาหาแพทย์ คือ
ไอเรื้อรัง
เหนื่อยง่าย
และหายใจมีเสียงวิ๊ดๆ
เมื่อมีอาการแล้ว
โรคนี้จะเป็นชนิดเรื้อรัง
และมีอาการเพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ
ในปัจจุบันไม่มีทางที่แพทย์จะรักษาให้หายขาดได้
ผู้ป่วยจะเหนื่อยง่ายมากขึ้น
และ
สมรรถภาพปอด
จะเลวลงตามลำดับ
ระยะสุดท้ายจะมีภาวะ
การหายใจล้มเหลว
ก่อนที่จะถึงระยะ
สุดท้ายที่มีพยาธิสภาพ
ของปอดมากจริงๆ
นี้ คือแค่ระยะที่มีพยาธิสภาพของปอดปานกลาง ผู้ป่วยก็อาจจะ
มีอาการมากขึ้นอย่างมากจากเชื้อไวรัส
เช่น
ไข้หวัด
ข้อควรปฏิบัติและควรรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ก.ในคนที่ไม่สูบบุหรี่
จากการศึกษาของแพทย์พบว่า
อัตราการตายของโรค
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในผู้ที่สูบบุหรี่มีมากกว่าในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง
20 เท่า ดังนั้นวิธี
ที่ดีที่สุดคือการป้องกันโดยไม่หัดหรือลองสูบบุหรี่
ข.
ในคนที่สูบบุหรี่
จากการศึกษาของแพทย์พบว่าเริ่มมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นในหลอดลมเล็กๆ
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
น้อยกว่า 2 ม.ม.
ก่อน และเป็นเพิ่มมากขึ้น
ตามลำดับ
ดังนั้น
การเลิกสูบบุหรี่จึงควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
ค.
ในผู้ป่วยที่มีอาการเกิดขึ้นแล้ว
ควรรีบปรึกษาแพทย์
ซึ่งแพทย์อาจวินิจฉัยโรค
นี้ได้ถูกต้องจากประวัติอาการ
การตรวจร่างกาย ภาพรังสีทรวงอก
และจากการตรวจสมรรถภาพปอด
หลักในการรักษาโรคในระยะนี้ของแพทย์
คือ
(1)
แนะนำให้เลิกสูบบุหรี่
ถ้าผู้ป่วยสูบบุหรี่ ถ้าผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ได้
อาการของโรคนี้ก็จะลดน้อยลงบ้าง
(2)
ทานยาขยายหลอดลม
ผู้ป่วยโรคนี้ควรทานยาขยายหลอดลมตามแพทย์แนะนำตลอดไป
เพื่อช่วยให้มีอาการเหนื่อยน้อยลง
ยาขยายหลอดลมมีหลายชนิดอาจต้องทานหลายอย่างตามความจำเป็น
บางอย่างมีปฏิกิริยาข้างเคียงมาก
บางอย่างมีน้อย
ดังนั้นควรทานยาเฉพาะตามที่แพทย์แนะนำ
ไม่ควรซื้อยาทานเอง
เพราะอาจ
เป็นอันตรายได้
(3)
เมื่อผู้ป่วยมีอาการกำเริบคือหอบเหนื่อยมากขึ้น
ไอและมีเสมหะมากขึ้นกว่าธรรมดา
เสมหะเปลี่ยนจากสีขาว
เป็นสี
เหลืองหรือ
สีเขียว
แสดงว่ามีโรคแทรกดังกล่าวในข้างต้น ควรทานยาปฏิชีวนะ
ตามที่แพทย์สั่ง
เพิ่มขึ้นด้วยประมาณ
7-10วันถ้าระหว่างที่ทานยานี้อาการไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์
(4)
ในระยะหลังของโรคนี้
คือ
เมื่อพยาธิสภาพของปอดมีมากหลังจากที่เป็นมาหลายๆ
ปีแล้ว
เวลาเดินนิดหน่อยก็เหนื่อย
หรือเพียงแค่หวีผมให้ตัวเองก็เหนื่อยเมื่อถึงระยะนี้แพทย์จะแนะนำให้้ใช
้ออกซิเจนขนาดน้อยๆ
ช่วยในการหายใจตลอดโดยมีออกซิเจนไว้ใช้เองที่บ้านผู้ป่วย
ซึ่งจะช่วยให้เหนื่อยน้อยละได้
ต่อมาอีกหลายเดือน
หรือ หลายปี
เมื่อโรคนี้เป็นมากขึ้นจนถึงระยะสุดท้ายจริงๆ
แพทย์ก็จะไม่อาจช่วยให้รอดชีวิตได้
ยังมีต่อนะครับ
